อาหารการกินและสุขภาพ

“กินอย่างไร ได้ผลเช่นนั้น” เป็นสิ่งเตือนสติให้กับคนเราได้เป็นอย่างดี เนื่องจากพฤติกรรมการบริโภคสามารถบ่งบอกถึงสุขภาพและโรคภัยที่จะเกิดขึ้นได้ภายหลังจากบริโภคอาหารเข้าไป ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับปัจจัยต่างๆ ที่เกี่ยวข้องด้วย ว่าปัจจัยเหล่านั้นจะเป็นตัวกระตุ้นหรือตัวป้องกัน หรือเข้าใจกว่านี้คือเป็นคุณหรือเป็นโทษต่อสุขภาพร่างกายของคนเรา

ท่ามกลางที่วิทยาศาสตร์ก้าวหน้าไปอย่างรวดเร็ว การสาธารณสุขของโลกสามารถรักษาโรคได้หลายชนิดมากยิ่งขึ้น ส่งผลให้มนุษย์มีอายุขัยที่ยืนยาวออกไป สุขภาพร่างกายทนทานต่อโรคต่างๆ มากกว่าในอดีต รวมไปถึงความรู้ทางวิทยาศาสตร์สุขภาพที่ค้นพบมากขึ้น ทั้งจากธรรมชาติที่มีอยู่เดิม หรือจากการวิจัยในห้องปฏิบัติการ ทำให้ระบบสาธารณสุขของประเทศที่กำลังพัฒนาและประเทศที่พัฒนาแล้วมีคุณภาพที่ดีมากกว่าในอดีตอย่างมาก ส่งผลให้คนเข้าถึงการรักษาโรคที่มีประสิทธิภาพจากบุคลากรสาธารณสุขได้มากขึ้น ไม่ต้องพึ่งพาการรักษาตามความเชื่อของท้องถิ่น ที่มีโอกาสทำให้สุขภาพแย่ลงกว่าที่เป็นอยู่ได้

ขณะที่การสาธารณสุขที่พัฒนาไปได้ในระดับดี สุขภาพของมนุษย์มักจะมีปัญหาใหม่ๆ ที่ต้องเผชิญกันอยู่ตลอด ส่วนหนึ่งมาจากพฤติกรรมการใช้ชีวิต โดยเจาะลงไปในเรื่องของการบริโภคอาหารและเครื่องดื่ม บนยุคปัจจุบันที่มีชีวิตปกติประจำวันที่เร่งรีบ ทำให้เกิดอาหารอยู่กลุ่มหนึ่ง คือ อาหารประเภทแฮมเบอร์เกอร์ ไก่ทอด และ Junk Food ประเภทต่างๆ ซึ่งเป็นที่นิยมในมื้ออาหารเช้า เมื่อบริโภคเป็นระยะเวลานาน จะก่อให้เกิดการสะสมของสารที่ไม่มีประโยชน์ที่ตกค้างในร่างกาย และการสะสมของแป้งและไขมันส่วนเกินจะส่งผลเสียต่อสุขภาพ เกิดความเสี่ยงในโรคต่างๆ เช่น โรคอ้วน โรคหัวใจ โรคความดันโลหิต โรคเส้นเลือดอุดตัน เป็นต้น นอกจากนี้การที่ไม่สังเกตเรื่องความสะอาดและสุขลักษณะของการทำอาหาร ภาชนะใส่อาหารตลอดไปจนบริเวณแวดล้อมโดยรอบ ย่อมก่อเกิดความเสี่ยงในโรคทางเดินอาหารแบบเฉียบพลันและเรื้อรัง ทั้งนี้อยู่กับสภาพร่างกายของแต่ละคนว่าเป็นอย่างไร

สิ่งเจือปนในอาหาร เช่น ผงชูรส ผงปรุงรส ฯลฯ เป็นสิ่งที่เราพบได้ทั่วไปในอาหาร ที่ส่วนใหญ่มักใส่ลงไปเพื่อชูรสชาติของอาหารให้ดีขึ้น (ความจริง ผงชูรส ผงปรุงรส จะทำการกระตุ้นต่อมรับรสให้มีประสิทธิภาพมากขึ้น การบริโภคอาหารที่มีสารเหล่านี้ในปริมาณมาก อาจเกิดอาการชาที่ลิ้นได้) ซึ่งเป็นสารที่ไม่มีประโยชน์ต่อร่างกาย บางชนิดอาจมีโทษต่อร่างกายอีกด้วย ดังนั้นจึงควรหลีกเลี่ยงหรือใส่ลงไปในอาหารให้น้อยที่สุดเท่าที่จะทำได้ เพื่อลดความเสี่ยงทางสุขภาพจากสิ่งเจือปนเหล่านี้

สิ่งเดียวเท่านั้นที่จะช่วยรักษาสุขภาพให้ดี และยืนยาวที่สุดเท่าที่จะเป็นไปได้ คือ อาหารประเภทอื่นที่ขายตามท้องตลาดสามารถบริโภคได้ แต่ไม่ควรบ่อยและไม่ควรมากจนเกินไปและ “รับประทานอาหารให้ครบห้าหมู่บนพื้นฐานของความสะอาดมากที่สุดเท่าที่จะเป็นไปได้” เพียงเท่านี้ โรคภัยไข้เจ็บจะไม่มาสวัสดีกับร่างกายของเราอย่างบ่อยๆ แน่นอน

นักเขียนเดินดิน
28 มิถุนายน 2559 14.51 น.

Leave a comment